วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2556

ปรัชญาการทำงานที่ได้จากผึ้ง



เมื่อ ปี 2548 ได้อ่านบทความของ อาจารย์ สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์ อาจารย์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เรื่อง ปรัชญาการทำงานที่ได้จากผึ้ง ซึ่งต่อมาแนวคิดนี้ได้จุดประกายเริ่มต้นการทำงานของ ผึ้งงาน คอนสตรัคชั่น ในปีถัดมาคือ 2549 ^^

"ปรัชญาการทำงานที่ได้จากผึ้ง" คือ "การแบ่งหน้าที่กันทำงานสำหรับการทำงานให้เป็นทีม"


 
ขออนุญาติคัดลอกบทความของอาจารย์ สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์ มาให้อ่านสรุปใจความสั้นๆนะครับ

ผึ้งมี 3 ประเภท

ผึ้งนางพญา มีหน้าที่ บินไปผสมพันธุ์กับผึ้งตัวผู้, ควบคุมสังคมภายในรัง และการวางไข่

ผึ้งตัวผู้ มีหน้าที่ กินอาหาร และคอยบินไปรอผึ้งนางพญาเพื่อผสมพันธุ์

ผึ้งงาน มีหน้าที่ ทำงานทุกอย่างภายในรัง

ว่ากันเฉพาะเรื่องผึ้งงาน ผึ้งงานเขามีการแบ่งหน้าที่กันทำงาน ซึ่งเรียกว่า "division of labour" ผึ้งจะถูกกำหนดให้ทำงานตามตารางเป็นโปรแกรมมาตั้งแต่เกิดเลย

ทุกตัวที่เป็นผึ้งงานต้องทำงาน เขาจะไม่เกี่ยงกัน ช่วยเหลือการทำงานกันเป็นอย่างดี ยกตัวอย่างผึ้งตัวหนึ่งมีน้ำหวานหกรดใส่ ผึ้งอีกตัวก็จะมาช่วยดูดน้ำหวานออกทำความสะอาด

ผึ้งงานทุกตัวต้องทำงาน ผึ้งจะให้ความร่วมมือช่วยเหลือกัน แบ่งงานกันทำ มีผู้นำ (นางพญา) ผู้ตาม/ลูกน้อง (ผึ้งงาน) และไม่เคยเห็นผึ้งทะเลาะเบาะแว้งกันให้เห็น

ผึ้งทุกตัวทำงานโดยไม่มีค่าแรง สิ่งที่ได้รับคือ กลิ่นตัวจากผึ้งนางพญา การได้อยู่และถูกยอมรับในสังคมผึ้ง และผึ้งคงมีความสุขอยู่กับการทำงานและการได้ช่วยเหลือผึ้งตัวอื่น